ข้อมูล สารสนเทศ และ เครื่องข่าย

ข้อมูล สารสนเทศ และ เครื่องข่าย

ข้อมูลสารสนเทศและระบบเครือข่าย


1.ความหมายของข้อมูล ข้อมูล ( Data) คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือตัวเลข ซึ่งข้อความหรือตัวเลขเหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ คน พืช สัตว์ และสิ่งของ เช่น ปริมาณข้าวที่ประเทศไทยผลิตได้ในในปี 2545 เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อความ เป็นต้น
                   à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ข้อมูล
2.ชนิดของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์จะมีทั้งหมด 4 แบบ คือ
        1. ข้อมูลตัวเลข (Number) จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 125 3648 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ
        2. ข้อมูลอักระ (Text) ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่างๆหรือตัวเลขที่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น บ้านเลขที่ 13/2 เป็นต้น
        3 ข้อมูลภาพ (lmage) รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพถ่ายคน ภาพวิวทิวทัศน์ต่างๆ
        4 ข้อมูลเสียง (Sound) รู้จักทางหูและการได้ยิน เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น
                     à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ชนิดของข้อมูล
 3. ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วอาจใช้วิธีง่ายๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยโดยใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น วิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจให้คำตอบปัญหาต่างๆ ได้สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปต่างๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
 ถ้ากล่าวง่ายๆ คือ ข้อมูลเป็นข้อมูลดิบ แต่สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ทำการประมวลผลแล้ว เช่น คะแนน สอบเต็ม 100คะแนน แต่นำมาตัดเกรดแล้ว เกรดนั้นคือ สารสนเทศ หรือข้อมูลที่นำมาหาค่าเฉลี่ยหรือสรุปผลแล้ว ข้อมูลนั้นก็คือ สารสนเทศ
                  à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ สารสนเทศ
 4. ระบบสารสนเทศ
 ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบของการจัดเก็บประมวลผลข้อมูลโดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่างหรือระบบสารสนเทศเป็นการนำข้อมูลมาจัดกระทำให้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบแบบแผน เพื่อสะดวกต่อการค้นคืนหรือการเลือกใช้ในการตัดสินใจและการดำเนินงานขององค์กร
                  
 5. ประเภทของระบบสารสนเทศ
    1 ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ
 เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรม หรือการปฏิบัติงานประจำแรงงานขั้นพื้นฐานขององค์กร เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
    2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
 คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ ระบบนี้จะต้องให้สารสนเทศในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
    3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ mis  อีกระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ mis ของบริษัท สำหรับทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติ แปลเบอร์ครั้งที่ผู้ตัดสินใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางจะเผชิญการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวลเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง
    4 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
 เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงการสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม
    5 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน gis  เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสำคัญกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วยgis  และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่
เป็นต้น
 6 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่าวได้ว่าอะไรบบนี้คือส่วนหนึ่งของ dss ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริการแก่ผู้บริหาร
7 ปัญหาประดิษฐ์
 ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการในสาขาใดสาขาหนึ่ง คล้ายกับมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยวิธีใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
    8 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
 เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน qas  มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ แต่จะทำการส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะคือ รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์
             à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ประเภทสารสนเทศ
 6. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
     1 ฮาร์ดแวร์ คือ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงานผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ
    2 ซอฟต์แวร์คือ ลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  software  จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการและประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
    3 บุคลากร คือ ผู้ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคนเช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบ
     4 ขั้นตอนการปฏิบัติ คือ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลามีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการต่างๆ ต้องมีขั้นตอน  5 ขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ
     5 ข้อมูล คือ เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นอยู่กับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการทำให้เกิดสารสนเทศ
     6 เครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล คือ ระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือ   ข่าย จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดี คือ  internet
              à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ องค์ประกอบ ของ ระบบ สารสนเทศ
    7 ความหมายของระบบเครือข่าย
 ระบบเครือข่าย หมายถึง ระบบที่มีการคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องมาเชื่อมต่อเข้าเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันในระบบได้ และสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหรืออุปกรณ์ต่างๆในระบบร่วมกันได้
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำกลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ผ่านสื่อกลางส่งข้อมูล ที่อาจเป็นสายเคเบิลหรือคลื่นวิทยุเป็นเส้นทางการส่งข้อมูลให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และข้อมูลร่วมกันได้ ในทำนองเดียวกับการสื่อสารกับบุคคลอื่นๆในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
          à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ระบบเครือข่าย
8 ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดดังนี้
        1 เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายLan
เครือข่ายท้องถิ่นเป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในบริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกัน ซึ่งระยะทางไกลสุดที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ แบบไม่ติดขัดประมาณ 100 เมตร มีการเชื่อมต่อแบบ client-server ระหว่างเครื่องลูกข่าย กับเครื่องบริการกลาง ที่ให้บริการกับผู้ใช้จำนวนไม่มาก ความสามารถในการทำงานของระบบเครือข่ายถูกกำหนดไว้ที่เครื่อง server  เพียงเครื่องเดียวที่ควบคุมด้วย software ระบบเครือข่าย
       à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง
        2 เครือข่ายระดับเมือง man
 เป็นเครือข่ายที่สื่อสารได้ระยะไกลกว่าเครือข่ายท้องถิ่น  Lan และระยะไกลน้อยกว่าเครือข่ายระดับประเทศ Wan สามารถรับส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 60 กิโลเมตรซึ่งเป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือในจังหวัดเดียวกันโดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกันเช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆในเขตเมือง เพื่อสื่อสารแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันในองค์กร
         à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ เครือข่ายระดับเมือง man
       3 เครือข่ายระดับประเทศ Wan
 เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างองค์กร ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ซึ่งเครือข่ายระดับประเทศ Wan การเชื่อมต่อระยะทางไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงมากนัก เครือข่ายระดับประเทศ จะทำให้ทุกบริษัท ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้าสู่เครือข่ายกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและทำงานร่วมกันในระบบที่ต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากถอนเงินผ่านตู้ atm  เป็นต้น
            à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ เครือข่ายระดับเมือง man
        4 ระบบเครือข่ายไร้สาย
 เครือข่ายไร้สาย เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและวิธีการจัดการทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่างๆ ทั้งในองค์กรเดิมที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่แล้วและองค์กรที่เกิดขึ้นใหม่ที่กำลังวางแผนติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่ง ไม่ใช่เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มาทดแทนเครือข่ายแบบใช้สัญญาณ แต่เป็นเทคโนโลยีที่สามารถขยายเครือข่ายแบบใช้สัญญาณได้
         à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ระบบเครือข่ายไร้สาย
 9 รูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่าย
        1 แบบบัส bus  ลักษณะของโทโปโลยีแบบบัส จะมีสายเคเบิลเส้นหนึ่งที่ใช้เป็นสายแกนหลัก โดยโดยทุกๆโหนดบนเครือข่ายจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายเส้นนี้ จึงดูเหมือนกับราวแขวนเสื้อผ้า รูปแบบการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ประหยัดสายสื่อสาร แต่ถ้าสายแกนหลักขาดหรือมีปัญหา จะส่งผลให้เครือข่ายล้มทั้งหมด
        2 แบบดาว   star  เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่แต่เดิมนั้นนำมาใช้กับเครื่องอันดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เป็นศูนย์กลางแม่ข่าย และมีลูกข่ายอย่างเครื่องเทอร์มินัลเชื่อมต่อ แต่ในปัจจุบันโทโพโลยีแบบดาวนิยมนำมาใช้เชื่อมต่อบนเครือข่ายทั่วไป โดยจะมีอุปกรณ์ฮับ  ที่ใช้เป็นศูนย์กลางการควบคุมของสายสื่อสารทั้งหมด
        3 แบบวงแหวน Ring เป็นการเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดหนึ่งต่อกันไปเรื่อยๆจนกระทั่งโหนดแรกและคนสุดท้ายได้เชื่อมโยงถึงกัน จึงเกิดเป็นรูปวงกลมหรือวงแหวนขึ้นมา โดยคอมพิวเตอร์หรือโนแต่ละโหนดจะเชื่อมต่อกันในลักษณะจุดต่อจุด สัญญาณจะถูกส่งทอดจากโหนดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนทิศทางเดียวกัน  และจะส่งท่อต่อไปเรื่อยๆ
        4 แบบเมช Mesh เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเต็มรูปแบบ แต่ละโหนดจะสื่อสารผ่านสายสัญญาณที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างเต็มที่ และหากมีสายสัญญาณบางลิ้นขาดไป ก็สามารถเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน จึงจัดเป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีความคงทนสูงมาก แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสัญญาณมากเช่นกัน
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง